| หน้าหลัก | สถาบันวิจัยและพัฒนา มสธ. | มสธ.
 
เข้าสู่ระบบ
ห้องสมุดวิจัยออนไลน์
ฐานข้อมูลงานวิจัย
ฐานข้อมูลนักวิจัย
facebook สถาบันวิจัยและพัฒนา
การสมัครอบรมวิจัย หลักสูตรที่ผ่านมา ค้นหาผู้เข้าอบรม  
 
การจัดการฝึกอบรม
หลักสูตร :“AI กับพื้นฐานที่ควรรู้: กล้าใช้และใช้เป็นเพื่อการวิจัย ”
 
หลักการและเหตุผล
           ปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ยุค “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ
ในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมหลายด้าน โดยเฉพาะในสาขาต่างๆ อาทิ เช่น
การศึกษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การวิจัยด้านสังคม และสาขาอื่นๆ โดยการใช้ AI เป็นเครื่องมือ
หรือตัวช่วยในการประมวลผล เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ บุคคลหรือ
องค์กรที่ใช้ประโยชน์จาก AI จะทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           ดังนั้นจึงไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า ทักษะความสามารถเกี่ยวกับ AI ได้กลายเป็นทักษะที่มีบทบาท
สำคัญมากในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในเกือบทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม
หรือภาคการศึกษา การนำทักษะความสามารถเกี่ยวกับ AI มาใช้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน
และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           สถาบันวิจัยและพัฒนาจึงเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี AI ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วย
ในการดำเนินการวิจัยให้กับคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร
“AI กับพื้นฐานที่ควรรู้: กล้าใช้และใช้เป็นเพื่อการวิจัย” ขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อเตรียม
ความพร้อมและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก AI ในงานวิจัยทางวิชาการและการพัฒนาระบบงานและองค์กร
เพื่อให้บุคลากรได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิจัยได้ รวมถึงสามารถเป็น
แรงบันดาลใจในการคิดนวัตกรรมและแก้ไขปัญหาที่มีความสำคัญ ต่อไป
 
วัตถุประสงค์
           เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจในเรื่อง AI และการวิจัย ฝึกทักษะในการนำ AI ไปประยุกต์
เข้ากับการวิจัยสมัยใหม่ พร้อมทั้งเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ AI และแนวทางการต่อยอดใน
การวิจัยในแขนงต่างๆ
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง AI เพื่อใช้ในการวิจัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้
อย่างมีประสิทธิภาพ
           2. มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพมาก และสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ
ได้มากขึ้น
 
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
           1. เป็นบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจ
ดำเนินการวิจัย
           2. สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ตลอดหลักสูตร
 
หัวข้อการบรรยาย
           1 . การปูพื้นฐานเกี่ยวกับ AI
           2 . การประยุกต์ใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย
           3 . การใช้ Prompt ให้เหมาะสมกับงานวิจัย
           4 . การใช้ AI เป็นเครื่องมือในการเตรียมบทความวิจัย
           5 . การตรวจจับการเขียนผลงานด้วย AI
 
วิทยากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงษ์ สุวรรณราช

สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

 
 
ระยะเวลาดำเนินการ
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams